แนวทางการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าบทเรียนจากสหภาพยุโรป(1)

แนวทางการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าบทเรียนจากสหภาพยุโรป(1)

ทีมงาน Thaieurope ได้เคยนำเสนอ บทความเกี่ยวกับแนวโน้มอนาคตอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า

(Electric Vehicles-EV)  ในยุโรป ซึ่งผู้อ่านทุกท่านคงจะได้เห็นแล้วว่า  อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในยุโรปมีอัตราการ เจริญเติบโตค่อนข้างสูง และไม่ได้จำกัดเพียง แค่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง จักรยานไฟฟ้า หรือ speed pedelec ที่นิยม ใช้ในหลายประเทศในยุโรปอาทิ ในเยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โดยในฉบับนี้ทางทีมงาน  Thaieurope จะนำเสนอแนวทางที่เป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในยุโรป ซึ่งส่งผลให้เกิดการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์และ ชิ้นส่วนอย่างแพร่หลาย ตลอดจนกระตุ้นความต้องการในตลาดผู้บริโภคในยุโรปได้อีก ทางหนึ่งด้วย

ที่ผ่านมา ภาครัฐของไทยได้เดินหน้ากำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยเมื่อวันที่  17 พฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) ที่เน้นเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต หรือ New Engine of Growth ซึ่งเป็นการต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่แล้วในประเทศ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจึงกลายเป็น “วาระแห่งชาติ” ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย

โดยจากการผลักดันของรัฐในครั้งนี้ จะส่งผลให้ยานยนต์ ไฟฟ้ากลายเป็นสินค้าชั้นนำด้านยานยนต์ หรือ Product Champion ลำดับที่ 3 ของไทยต่อจากรถยนต์Eco-car และรถกระบะขนาด  1 ตัน นอกจากนี้ การส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นมาตรการสำคัญ ของไทยตามเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20%-25% ภายในปี  2573 ที่ไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา

ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท  คือ

  1. Hybrid Electric  Vehicle-HEV)
  2. (Plug-in Hybrid Electric Vehicle-PHEV)  ซึ่งชาร์จไฟโดยการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าได้จาก บ้านและอาคารทั่วไป
  3. Battery Electric Vehicle-BEV)  ที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่เท่านั้นและ
  4. (Fuel Cell Electric Vehicle-FCEV) ที่ผลิตไฟฟ้าจากเซลเชื้อเพลิงไฮโดรเจน

โดยสำหรับประเทศไทย ตามข้อมูลจากรมการขนส่ง ทางบก พบว่า ในปี 2558 มีการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 7,705 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฮบริด 7,629 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่76 คัน (รวมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า55 คัน) ซึ่งเรียกได้ว่า การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริมการใช้ การผลิต  ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา

แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การกำหนดเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579 และการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีในการลงทุน และอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อส่งออกเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังติดปัญหาในด้านศักยภาพของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอน การวิจัยและพัฒนา และยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

อีกทั้งตลาด ยานยนต์ไฟฟ้าของไทยยังเป็นตลาด ขนาดเล็ก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์จึงยังเห็นว่า ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เท่าที่ควร ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอยู่ในสภาวะชะงักงันที่ผู้ผลิตก็รอความต้องการในตลาด ขณะที่ผู้บริโภคก็หวังให้มีรูปแบบยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองต่อความต้องการและมีราคาถูก

ทางทีมงาน Thaieurope จึงได้ใช้โอกาสนี้เข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัย MOBI (Mobility, Logistics and Automotive Technology  Research Centre) ณ มหาวิทยาลัย Vrije  Universiteit Brussel (VUB) ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และพูดคุยกับ Dr. Joeri Van Mierlo ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย MOBI และ Dr. Maarten Messagie นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ หัวหน้าโครงการประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life-Cycle Assessment-LCA) เกี่ยวกับมาตรการ/นโยบายส่งเสริมการพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าใน EU  เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม : ปัจจัยสำคัญในการผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี

หลายท่านอาจมีคำถามว่า ทำไมอุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปถึงประสบความสำเร็จทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และมีความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติจากศูนย์วิจัย Joint Research Centre (JRC) ของ EU พบว่า มีการ จดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าจำนวนถึง  70,000 คันในปี 2557 จากจำนวนเพียง  760 คันในปี 2553 เท่านั้น  ในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในยุโรปเป็นการผลิตเชิงพาณิชยเต็มรูปแบบ (full scale commercialization) ซึ่งเห็นได้จากจำนวนรูปแบบรถยนต์ที่ผลิต ออกสู่ตลาด โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า แบบแบตเตอรี่ที่มีปริมาณสูงขึ้นจาก 3 โมเดล ในปี 2553 และ 9 โมเดลในปี 2554 เป็น  14 โมเดลในปี 2557 และมีแนวโน้มที่จะ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากยังมีการวิจัย และพัฒนารูปแบบของยานยนต์ไฟฟ้าแบบ แบตเตอรี่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 12-13 โมเดล ในปี 2553-2554 เป็น 23-30 โมเดล ในปี 2555-2557

ทีมงานThaieurope ได้สอบถาม Dr. Joeri Van Mierlo เกี่ยวกับปัจจัย สำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้บริษัทยานยนต์ ตื่นตัวในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Dr.Van Mierlo  ตอบว่า กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของ EU ที่กำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า EU emission standards และกฎระเบียบเกี่ยวกับการรีไซเคิลชิ้นส่วน/อะไหล่ยานยนต์คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการยานยนต์ต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (passenger  cars) และรถบรรทุกเล็ก (light commercial vehicles) ที่มีขนาดไม่เกิน 3.5 ตัน และมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,610 กิโลกรัม จะต้องได้มาตรฐานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ EU กำหนดให้เหลือ 95 กรัมต่อกิโลเมตร  ภายในปี 2563  นอกจากนี้ ยังต้องได้รับการรับรอง มาตรฐานฝุ่นละออง การปล่อยก๊าซไนโตรเจน มอออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO และ NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอนต่างๆ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Euro 6 อีกด้วย

(ติดตามต่อในตอนหน้า)