ไม่เลือกเธอเขามาแล้ว

ไม่เลือกเธอเขามาแล้ว

สัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีอะไรช็อคโลกมากไปกว่าการที่นายโดนัลด์ทรัมพ์พลิกความคาดหมายได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง290 คะแนนชนะนางฮิลลารีคลินตันที่ได้ไป

 232 คะแนนกลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

            อย่างไรก็ดีคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตหรือคะแนนดิบนั้นนายโดนัลด์ทรัมพ์ (ต่อไปนี้จะขอใช้สรรพนามแทนว่า“เขา”) ได้60,071,650 คะแนน (47.4% ของผู้ลงคะแนน) ในขณะที่นางฮิลลารีคลินตัน (ต่อไปนี้จะขอใช้สรรพนามแทนว่า“เธอ”) ได้60,467,245 คะแนน (47.7% ของผู้ลงคะแนน) หมายความว่าหากใช้กติกาให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง“เธอ”ควรจะได้รับเลือก

            แต่กติกาย่อมเป็นกติกาเพราะผู้ชนะในระบบนี้ไม่ว่าจะชนะมากหรือน้อยจะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด  และในรัฐที่เป็นSwing States คือรัฐที่ไม่ได้มีผู้สมัครจากพรรคไหนผูกขาดนั้น“เขา”ได้รับชัยชนะแม้จะเป็นชัยชนะที่คะแนนเหนือกว่าไม่มากในขณะที่รัฐที่“เธอ”ได้รับชัยชนะจะเป็นชัยชนะที่ได้คะแนนห่างจาก“เขา”พอสมควร

            ใครเลือกเขา?

            ข้อมูลจากexit poll แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เลือกเขาคือผู้มีแนวคิดแบบอนุรักษนิยมซึ่งเลือกเขาถึง81% กลุ่มคนผิวขาวเลือกเขา58% ผู้ชายเลือกเขา53% และผู้มีอายุ45 ปีขึ้นไป(ซึ่งมีสัดส่วน55%ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง) เลือกเขา53%           

            คนมีการศึกษาสูงเลือกเธอมากกว่าเขาคือคนเรียนจบปริญญาตรีเลือกเธอ49% เลือกเขา 45% จบสูงกว่าปริญญาตรีเลือกเธอ58%เลือกเขา 37% ในขณะที่คนเรียนจบต่ำกว่าปริญญาตรีรวมถึงจบมัธยมหรือต่ำกว่าเลือกเขา52% เลือกเธอ44%

            เธอได้คะแนนจากคนในเมืองในขณะที่เขาได้คะแนนจากคนชนบทและปริมณฑลของเมืองใหญ่

            สำหรับรายได้นั้นคนมีรายได้สูงเลือกเขามากกว่าแต่ก็มากกว่าไม่มากในขณะที่ผู้มีรายได้ต่ำกว่าเลือกเธอมากกว่าเขาอย่างชัดเจน

            และที่โดดเด่นที่สุดซึ่งเขาได้คะแนนไปเยอะคือคนมองว่าเขาคือผู้ที่จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์ที่เหมาะสม

            ข้อสรุปที่อนุมาณได้จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้คือคนต้องการการเปลี่ยนแปลงและยอมเสี่ยงที่จะรับผล (ไม่ว่าจะเป็นทางลบหรือทางบวก) จากการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

            ที่ค่อนข้างแน่นอนก็คือสหรัฐอเมริกาจะหันกลับไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของตนเองมากขึ้นตามนโยบาย“ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง”และต้องยุ่งเกี่ยวกับภายในมากขึ้นเพราะต่อไปนี้ฝ่ายที่เลือกเธอซึ่งมีการศึกษาดีกว่าก็จะจับตาดูการบริหารงานของเขาอย่างใกล้ชิด

            ผลกระทบต่อตลาดทุนก็เป็นไปตามที่ดิฉันเขียนไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงตลาดหุ้นปรับตัวลงและราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นแต่ผลตามคาดหมายนั้นเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมากคือสัญญาซื้อขายฟิวเจอร์สลดลงไป5% ระหว่างการนับคะแนนในคืนวันอังคารและผลเริ่มเห็นว่าเขาจะชนะค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น60 เหรียญต่อออนซ์แต่พอวันถัดมาทุกอย่างก็กลับเข้าสู่สภาพเดิมและดัชนีหุ้นกลับไปในทิศทางตรงกันข้าม

            ปรากฏการณ์นี้คล้ายๆกับที่เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจนติดลบเมื่อปลายเดือนมกราคมปีนี้ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงไปตามที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่นต้องการแต่ก็เกิดขึ้นเพียงสามสี่วันแล้วก็กลับไปแข็งค่าใหม่

            แล้วเราจะพอทำนายได้ไหมว่าตลาดหุ้นในอนาคตหลังเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร  อาจารย์เรย์สตูร์ม(Ray R. Sturm) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการเงินจากUniversity of Central Florida ได้เคยทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นสหรัฐกับผลของการเลือกตั้ง29 ครั้งย้อนหลังและลงตีพิมพ์เมื่อปี2557 สรุปได้ว่า

            ถ้าคนชอบใจผลการเลือกตั้งและหุ้นขึ้นในสามวันแรกช่วงปีถัดไปหุ้นจะขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ3%

            ถ้าคนไม่ชอบใจผลการเลือกตั้งและหุ้นตกในสามวันแรกช่วงปีถัดไปหุ้นจะตกไปประมาณ2% ค่ะ

            พอถึงปีที่สองหลังเลือกตั้งตลาดมักจะเปลี่ยนใจเพราะถือว่าที่หุ้นขึ้นหรือลงไปในปีที่มีการเลือกตั้งนั้นเป็นการเกินเลยกว่าที่ควรจะเป็น(overreact) ดังนั้นหากสามวันแรกหุ้นขึ้นปีที่สองหุ้นจะตกประมาณ2.5% แต่หากหุ้นตกในสามวันแรกซึ่งถือเป็นการลงโทษไปแล้วในปีที่สองหุ้นจะขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ12.5%

            จากการศึกษายังพบว่าครึ่งหลังของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีดัชนีตลาดหุ้นจะดีกว่าในครึ่งแรกโดยเฉพาะในปีที่สามจะดีมากโดยพบว่าใน14 ครั้งตลาดจะให้ผลตอบแทนประมาณ16% ในปีที่สามจึงคาดว่าปี2018 หุ้นจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับสามวันแรกและในปี2019 ตลาดหุ้นน่าจะดี

            อย่างไรก็ดีจากการศึกษายังพบว่าประธานาธิบดีจากพรรคดีโมแครตจะดีกับตลาดหุ้นมากกว่าจากพรรครีพลับลิกันค่ะ

            ดัชนีS&P500 ในสามวันหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้ขึ้นมา36.98 (จุด) หรือขึ้นมา1.74% ซึ่งหากเป็นตามที่อาจารย์สตูร์มคาดการณ์ในปี2018 หุ้นน่าจะตกและปี2019 หุ้นสหรัฐน่าจะขึ้น

            นำมาเล่าสู่กันอ่านนะคะเป็นการศึกษาข้อมูลในอดีตที่มีความสอดคล้องกันแต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำโดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีที่ขึ้นมากในครั้งนี้เป็นดัชนีอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ซึ่งขึ้นไปถึง3%ในช่วงสามวันหลังทราบผลการเลือกตั้งไม่ใช่ดัชนีเอสแอนด์พี500 ที่อาจารย์สตูร์มใช้วิจัยเนื่องจากผู้ลงทุนมองว่าประธานาธิบดีคนใหม่จะมุ่งสร้างอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐให้กลับคืนมา

            สิบปีก่อนออสเตรเลียก็รณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวซื้อของที่ผลิตในออสเตรเลียซึ่งก็ได้ผลพอสมควรหรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้คนยอมรับว่าหากพบสินค้าที่เขียนว่า“ผลิตในออสเตรเลีย”แล้วก็กรุณายอมจ่ายเงินแพงหน่อยเพราะของมีคุณภาพดีกว่าที่ผลิตจากประเทศอื่นๆที่มีค่าแรงต่ำค่ะ