divergence diversity and convergence สถาบัน รัฐ ตลาด(54)

divergence diversity and convergence สถาบัน รัฐ ตลาด(54)

ถ้าเรามองการรวมตัวของหลายๆ รัฐชาติในยุโรปเพื่อภารกิจอันในอันหนึ่งที่เริ่มจากการเป็นเขตการค้าเสรี

เป็นตลาดร่วม หรือเป็นประชาคมยุโรป จนเป็นสหภาพในขณะนี้ มีอายุเกือบ 60 ปี และถ้าการรวมตัวนี้เป็นระบบการเมืองระบบหนึ่ง ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ร่วม ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ โดยธรรมชาติน่าจะเปลี่ยนแปลงได้เป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ มีตั้งแต่ความรู้สึกเฉยๆ ชอบหรือสนับสนุน ไม่ชอบหรือต่อต้าน ออกเสียงไม่ยอมรับ เมื่อมีการลงประชามติ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของประเทศสมาชิกEU ในแต่ละช่วงเวลา ตลอด 60 ปี

ในความเป็นจริงเรารู้อะไรบ้าง คนทั่วไปมักจะเชื่อกันว่ารากเหง้าของการรวมตัวของยุโรป มันเป็นผลมาจากโศกนาฏกรรมของ สงครามโลกครั้งที่ 2 จำเป็นต้องมี EU เพื่อไม่ให้มันเกิดอะไรเช่นนี้อีกแต่ในรายละเอียดแล้ว มันมีอะไรมากกว่านั้น มีหลายช่วงในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ไม่นานมานี้ การอยู่รอดของรัฐชาติ หรือการรักษาอำนาจอธิปไตยของประเทศไว้ เป็นเรื่องที่เปราะบาง ไม่ต้องอื่นไกล ตอนที่ที่เยอรมัน บุกเข้ายึดฝรั่งเศศได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 Charles de Gaulle ต้องหนีไปที่ London ทีมของเขายื่นข้อเสนอให้ Churchill ให้รวมอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นสหภาพ คนของทั้งสองปะเทศมีความเป็นพลเมืองร่วมกัน มีฝ่ายบริหารร่วมกัน Churchill เสนอไอเดียนี้เข้าไปที่คณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน มิ.ย.1940 ครม.ก็รับข้อตกลง แต่ฝ่ายฝรั่งเศสในที่สุดปฏิเสธ เลือกที่จะยอมกับฮิตเลอร์ แต่หลังสงครามแล้วก็ค่อนข้างแปลกที่รัฐชาติกลับมามีชีวิตใหม่ที่เร็วมาก

ในส่วนของมุมมองของแต่ละฝ่ายเรื่องการรวมตัวเป็น United Europe ในรูปใดรูปหนึ่ง คนเยอรมันมองว่ามันเป็นการควบคุมหรือจำกัดการใช้อำนาจ โดยมาร่วมมือกันสร้างกติกาและสถาบัน แต่ถ้ามองจากคนอังกฤษ คนหรือผู้นำอังกฤษ ไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่โต มองว่ามันเป็นทางเลือกหนึ่งที่ ประเทศหนึ่งหรือรัฐชาติ เต็มใจที่จะมาทำอะไรด้วยกันด้วยความสมัครใจ เป็นหุ้นส่วนร่วมกันอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อประโยชน์ของสมาชิก โดยสื่อความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ดี “แต่ฉันคงไม่ร่วมด้วยนะ” นี่คือคำพูด churchill

ขณะเดียวกันก็ มีนักการเมืองอังกฤษว่าสหภาพยุโรปมันทำให้เยอรมัน ส่งเสียงดังและใหญ่โตได้ คนที่อยู่ทางใต้ของยุโรป เช่น อิตาลี สเปน หรือกรีก โปรตุเกส นั้นมองหาทางเลือกของระบบที่จะทำให้ประเทศหรือชีวิตของตัวเองดีขึ้น คนในประเทศเหล่านี้รู้ว่า ชนชั้นการเมือง พรรคการเมือง ในประเทศของตนนั้นเต็มไปด้วยความฉ้อฉลเป็นเจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพล เป็นมาเฟีย มองประชาคมหรือสหภาพยุโรปเป็นทางเลือกหนึ่ง และทางออกที่จะมากวาดล้างความชั่วทั้งหลาย ทำรัฐที่กึ่งล้มเหลวเป็นรัฐที่เข้มแข็ง เป็นต้น

ตอนที่สเปนสมัครเข้าร่วมตลาดร่วมยุโรป ในปี ค.ศ 1986 นั้น นักปรัชญาชาวสเปน ชื่อ Gasset ถึงกับชูเป็นคำขวัญว่า “สเปนคือปัญหา ยุโรปคือทางออก” แน่นอนว่าลึกๆ แล้ว ประเทศทางยุโรปใต้รวมทั้งกลุ่มประเทศยุโรปกลางและตะวันออกหลังระบบคอมมิวนิสล่มสลาย รู้ดีว่าการที่รายได้ต่อหัวของตนต่ำกว่าทางเหนือและทางตะวันตก การเข้าร่วมจะเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้ประเทศของตนสามารถลดช่องว่างระหว่างกัน ได้เร็วขึ้นคือมี convergence เพราะยุโรปมีเงินอุดหนุนผ่าน regional fund

โดยรวมๆ แล้ว ชุมชนการเมืองที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสงคราม นั้นมีลักษณะ Top down มันเกิดจากความคิดและพลังของผู้นำในยุโรป โดยได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากสหรัฐในการฟื้นฟูยุโรป ทำให้คนในยุโรปดำเนินชีวิตใหม่ที่เป็นปกติสุขได้เร็วขึ้นในช่วงแรกๆ อย่างน้อยตั้งแต่สนธิสัญญาโรม ในปี ค.ศ.1957 จนถึงกลางทศวรรษ 60 มีข้อสังเกตว่าการให้ความสำคัญและความคิดที่ว่าการรวมตัวของยุโรปนั้น เป็นโครงการทางการเมือง เป็นเพราะช่วงแรกๆ นี้ ประเทศต่างๆ ต้องการเสถียรภาพความมั่นคง หลังจากรบราฆ่าฟันกันมานาน ประชาชนส่วนใหญ่ยังผูกพันกับชาติของตน แต่จริงๆก็ยังรู้สึกเฉยๆ และไม่คัดค้านกับการรวมตัวของรัฐชาติยุโรป เหมือนกับที่เราจะพบว่ามีมากขึ้นในทศวรรษ 70 แล้วก็เปลี่ยนเป็นความรู้สึกที่ชอบสนับสนุนอีกครั้งในทศวรรษ 80 แล้วก็เปลี่ยนอีก ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติยูโรโซน รวมทั้งวิกฤติการไหลเข้ายุโรปของผู้อพยพ

ด้วยเหตุนี้ การมองว่าสังคมของแต่ละประเทศคิดอย่างไร มีปฏิกิริยาอย่างไร ต่อชุมชนการเมืองของยุโรป จึงต้องมองย่างพลวัต เพราะเหตุการใน 60 ปี ไม่ใช่หนังม้วนเดียว

พลังและการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ ของสหภาพยุโรป ในช่วงทศวรรษ 80 90 และ 2000 มันต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับเหตุการณ์และประชาคมยุโรป ในช่วงทศวรรษ 50 และ 60

ช่วงทศวรรษ 50-60 เศรษฐกิจยุโรปโตเร็วมาก ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานมาจาก ความสามารถในการตักตวงเทคโนโลยีที่มีอยู่ และการลงทุนทำให้สามารถไล่กวดประเทศอย่างสหรัฐนอกจากนี้โอกาสที่พื้นฟูการลงทุนประเทศก็มีมาก เอาเข้าจริงเราก็ไม่รู้ว่า ประชาคมยุโรปการมีเขตการค้าเสรีใหม่ การใช้อัตราศุลกากรกับภายนอกประเทศร่วมกันนั้น จริงๆ เศรษฐกิจของประเทศในประชาคมยุโรปโตดีมาก แต่สรุปยากว่าเกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจร่วมกันแค่ไหน

อังกฤษนั้น อยู่ในช่วงขาลงตลอด เศรษฐกิจโตช้ากว่าและมักมีปัญหาดุลการค้าและดุลชำระเงิน อังกฤษก็เลยเหมาว่า ยังไงต้องเข้าร่วมเพื่อให้การเจริญเติบโตเร็วขึ้น แต่ก็โชคร้ายเมื่ออังกฤษเข้ามาร่วม ในปี ค.ศ.1973 ตามมาด้วย เดนมาร์ก และไอร์แลนด์ ช่วงดังกล่าว ยุคทองของยุโรปจบลงพอดี ทศวรรษ70ไปถึง80 ยุโรปและโลกเจอปัญหาใหม่ คือ stagflation คือเงินเฟ้อสูงการว่างงานก็สูง คนตกงานกันเป็นล้านๆ คน ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เยอรมันดีกว่าคนอื่นที่เงินเฟ้อต่ำกว่ามาก แน่นอนว่าในสภาพเช่นนี้ ปฏิกิริยาของประชาชนทั่วๆ ไปเริ่มที่จะมองประชาคมยุโรปเป็นลบ โดยเฉพาะเมื่อประชาชนพบว่าพวกเขามีชีวิตเลวลงและได้สวัสดิการจากรัฐสวัสดิการลดลง ยุโรปเป็นโรคเรื้อรังเรื่อยมาที่เรียกกันว่า eurosclerosis

อะไรทำให้คนหันมาสนับสนุนการขยายตัวของ EU อีก ในเวลาต่อมา