ว่าด้วย Man without Work ในสหรัฐ

ว่าด้วย Man without Work ในสหรัฐ

ผู้ชายอเมริกันเลือกที่จะไม่หางานและอยู่ในกลุ่ม not in labor force อาจจะมีสาเหตุมาจากอาการป๋วย

สืบเนื่องจากบทความของผมเมื่อปีที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องของ “การว่างงาน” ณ คอลัมน์นี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2558 ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่สถานการณ์แรงงานในบ้านเรา ที่เป็นที่รับรู้กันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดประเทศหนึ่งของโลก (ประมาณ1%) สอดคล้องกับที่ท่านนายกประยุทธ์ได้ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปีที่แล้วว่า “อัตราการว่างงานของประเทศไทยถือว่าต่ำที่สุดในอาเซียน และอาจจะต่ำที่สุดในโลก” (นายกฯขานรับ‘11ข้อเสนอ’แรงงาน กรุงเทพธุรกิจ 2 พ.ค. 2558)

โดยตัวเลขของอัตราการว่างงานนี้ ตามทฤษฎี จะคำนวณจาก จำนวนผู้ว่างงานที่กำลังหางานทำ (unemployed people) หารด้วย จำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงานรวม (labor force) ซึ่งปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาส2ปี2559 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ประเทศเรามี unemployed people อยู่ 4.1 แสนคน มี labor force อยู่ 38.2 ล้านคน คำนวณได้เป็นตัวเลขของอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ที่ 1.1 % (4.1/38.2)

ตัวเลข 1.1% ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อาทิ ฝรั่งเศส 9.9% สหรัฐอเมริกาที่ 6.2%เยอรมนี5.0% หรือ ญี่ปุ่น 3.7% สิงคโปร์ที่ 3.0% มาเลเซียที่ 2.0% อินโดนีเซียที่ 6.2% หรือ ฟิลิปปินส์ที่ 7.1% (World Bank ปี 2557)

แต่การว่างงานที่ต่ำขนาดนี้ ไม่ได้หมายความว่าในไทยมีคนที่ไม่มีงานทำเพียง 1% เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากตัวเลขของอัตราการว่างงานนี้ ไม่ได้นับรวมเอา จำนวนของผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน (หรือเรียกว่า ผู้อยู่นอกกำลังแรงงานหรือ not in labor force) มาคำนวณด้วย ทั้งนี้ การไม่พร้อมทำงานนี้ อาจจะมีหลายสาเหตุอาทิ ทำงานบ้าน เรียนหนังสือ โดย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี2559 ไทยมีคนกลุ่ม not in labor force ถึง 17.4 ล้านคน จากผู้ที่มีอายุ 15ปีขึ้นไป 55.6 ล้านคน และอยู่ใน labor force 38.2 ล้านคน ทำให้สามารถคำนวณอัตราส่วนของจำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงานรวมต่อจำนวนประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด หรือเรียกว่าอัตรา labor participation rate ของไทยได้ที่ประมาณ 69 % (นำ 38.2ล้านคน มาหารด้วย 55.6ล้านคน ครับ)สูงกว่าของสหรัฐอเมริกาที่มีประมาณ 62%

ประเด็นของวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง Labor Issue ครับรายงานน่าสนใจฉบับหนึ่งจาก Bloomberg โดย Peter Coy ที่ไปอ้างอิงถึงบทวิจัยของ Alan Krueger นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Princeton ที่วิจัย สถิติของกลุ่มผู้ชายอเมริกันที่ไม่หางานทำ not in labor force และอายุมีระหว่าง 15-54 ปี (ซึ่งอยู่เป็นส่วนที่ไม่ได้อยู่ใน labor participation) ที่เป็นกลุ่มมีสัดส่วนแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสังคมอเมริกัน ว่าจะมีโอกาสถึง 43.5% ที่อยู่ระหว่างอาการป๋วย(ในช่วงของการบำบัดอาการปวด) ซึ่งเป็นค่าตัวเลขที่สูงมากจนน่าตกใจ เนื่องจากเป็นค่าสถิติที่สูงกว่า 20.2% ซึ่งเป็นของกลุ่มผู้ชายอเมริกัน อายุระหว่าง 15-54 ปี ที่มีงานทำ กว่า 2 เท่าตัว (ในขณะที่ตัวเลขสำหรับผู้หญิงจะอยู่ที่ 35.7% กับ 25.7% เท่านั้น)
Krueger จึงตั้งข้อสังเกตว่าการที่ผู้ชายอเมริกันเลือกที่จะไม่หางานและอยู่ในกลุ่ม not in labor force อาจจะมีสาเหตุมาจากอาการป๋วย ก็เป็นได้

ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานอีกชิ้น โดย Justin Fox (ใน Bloomberg เช่นกัน) เรื่อง Not Working Makes People Sick กลับวิเคราะห์เรื่องนี้ไม่อีกแง่มุมหนึ่งว่า ว่าการที่ผู้ชายอเมริกันไม่ยอมทำงานยิ่งเป็นสาเหตุให้มีโอกาสที่จะป๋วยมากยิ่งขึ้นก็ได้ เนื่องจากเมื่อไปวิเคราะห์ตัวเลขของผู้หญิงที่ not in labor force พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงก็ยังต้องรับผิดชอบงานอยู่ อาทิ งานบ้าน ในขณะที่ตัวเลขของกลุ่มผู้ชายจะพบว่าส่วนมากที่ not in labor force จะมีสาเหตุด้านสุขภาพ

Justin Fox อ้างอิงตัวอย่างพฤติกรรมของที่ผู้ชาย not in labor force ตามตัวอย่างจากหนังสือ Men Without Work ของ Nicholas Eberstadt (2016) ที่ว่า ผู้ชายอเมริกันที่ not in labor force จะใช้เวลาดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ถึง 5.5 ชั่วโมงต่อวัน เทียบกับ 3.5 ชั่วโมงสำหรับผู้ชายที่กำลังตกงานอยู่ และ 2 ชั่วโมงต่อวันสำหรับผู้ชายที่มีงานทำ และตั้งข้อสังเกตว่าการที่ผู้ชายที่ไม่ได้ทำอะไรอาจจะเป็นเพิ่มโอกาสที่จะป๋วยมากยิ่งขึ้น

ซึ่งคงเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ต้องทำการวิจัยกันต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการที่ผู้ชายที่ไม่ได้ทำงาน และ not in labor force กับโอกาสที่จะไม่สบายของผู้คน ซึ่งสำหรับผมการตั้งชื่อบทความเรื่อง Not Working Makes People Sick ของ Fox ในที่นี้ น่าจะเป็นการจั่วหัวที่เกินจริงไปบ้าง