การใช้มาตรการบังคับทางปกครองกรณีการขายข้าวจีทูจีเก๊

การใช้มาตรการบังคับทางปกครองกรณีการขายข้าวจีทูจีเก๊

ในกรณีของการกระทำความเสียหายขายข้าวจีทูจีเก๊ ขณะนีอยู่ในขั้นตอนของการออกคำสั่งให้ผู้ทำละเมิด

ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองสามคนและข้าราชการประจำสามคนนำเงินมาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเวลาที่กำหนด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต้องลงนามในคำสั่งดังกล่าวสองฐานะ คือในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี และในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย ถ้าถึงเวลาที่กำหนดผู้ทำละเมิดยังไม่นำเงินมาชดใช้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในทั้งสองฐานะต้องมีหนังสือตือนไปถึงผู้ทำละเมิดให้ชำระเงินภายในกำหนด โดยต้องให้เวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หากเลยระยะเวลาที่กำหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ออกคำสั่งอาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน ตามที่บัญญัติในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

วิธีการยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2542 ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มิได้ กำหนดตัวเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดในกรณีผู้ทำละเมิดเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการฝ่ายการเมืองไว้ จึงมีความพยายามจากบางฝ่ายเสนอวิธีแก้ปัญหานี้ โดยให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห้งรัฐธรรมนูบแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งยึดทรัพย์ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเลย หรืออาจแต่งตั้งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ก็ได้ ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วย และผู้ไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามกรณีนี้มีทางเลี่ยงไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจตามมาตรา44 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางการเมืองตามมา คือ

แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2542 ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ทำละเมิดที่เป็นข้าราชการเมืองไว้ เช่นกำหนดให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการเป็นผู้มีอำนาจสำหรับผู้ทำละมิดที่เป็นนายกรํฐมนตรีหรือรัฐมนตรีและข้าราชการฝ่ายการเมืองอื่นฯที่เคยสังกัดในกระทรวงนั้น หรือ

ใช้สิทธิทางศาลนำคดีฟ้องต่อศาลปกครอง โดยแสดงเหตุว่ามีข้อขัดข้องในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เนื่องจากไม่มีผู้มีอำนาจสั่งยึด อายัดขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ทำละเมิดที่เป็นข้าราชการฝ่ายการเมืองไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวและไม่มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามนัยแห่งคำสั่งศาลปกครองสูงสุกที่830/2557 ที่วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า “หากนาย จ. ไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนตามคำสั่งของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีชอบที่จะพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ต่อนาย จ. ได้ ซึ่งคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้นาย จ. ชำระเงินนั้นมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดได้ อันเป็นการกำหนดมาตรการเพื่อให้บังคับชำระหนี้ได้โดยครบถ้วน แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องยังมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครองก็ไม่ตัดสิทธิผู้ฟ้องคดีที่จะใช้สิทธิทางศาล กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีชอบที่จะเสนอข้อพิพาทให้ศาลซึ่งเป็นองค์กรตุลาการ พิจารณาพิพากษาอรรถคดี เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสัมฤทธิ์ผลได้ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีในอันที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิโดยศาล

สำหรับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดขายทอดตลาดทรัพย์สิน นั้น ตามมาตรา62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครอง อาจอุทธรณ์การบังคับการปกครองได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณืคำสั่งทางปกครอง แต่หากนำไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา เพราะใม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามที่ศาลปกครองสูงสุดเคยวินิจฉัยไว้ ตามนัยแห่งคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่.595/2548 และคำพิพากษาศาลปกตรองสูงสุดที่485/2552

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งให้นำเงินมาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถึงแก่ความตาย ภารหน้าที่ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่485/2552 ที่วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือเรียกให้นาย พ. ชดใช้เงินจำนวน 10,439,888.88 บาท เมื่อนาย พ. ถึงแก่ความตายลง บรรดาทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดอื่นๆ ซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของนาย พ. โดยแท้ จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทนาย พ. ทันทีที่นาย พ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของนาย พ. จึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่สั่งให้นาย พ. ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดแทนนาย พ. และหากทายาทนาย พ. ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่ กำหนดในคำสั่ง ผู้ฟ้องคดีก็ย่อมมีอำนาจตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของทายาทได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท