จับตา 10 กระแสเศรษฐกิจเมียนมา(2)

จับตา 10 กระแสเศรษฐกิจเมียนมา(2)

ครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอประเด็นการเติบโตทางเศรษฐกิจในเมียนมาที่น่าจับตามองไปแล้ว 5 ข้อ

ซึ่งว่าด้วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของชาวเมียนมา ที่กำลังเปลี่ยนไปตามกระแสเศรษฐกิจ วันนี้จะพูดถึงอีก 5 ประเด็นที่น่าสนใจของเมียนมา

6.กระแส Mobile First มาแรงมในยุคนี้ 

    ย้อนไปเมื่อ3 ปีที่แล้ว ซิมมือถือในเมียนมาราคาสูงกว่าทองซะอีก คนเมียนมาต้องจ่ายเงินมากถึง 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 40,000 บาท เพื่อเป็นเจ้าของซิมมือถือ แต่ปัจจุบันราคาลดลงมาอยู่ที่ 1.50 ดอลลาร์หรือราวๆ 50 บาทเท่านั้น ทำให้ Internet Penetration ในเมียนมาโตจากศูนย์ปัจจุบันเป็นครึ่งหนึ่งของประชากร การเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ได้รับแรงส่งมาจากการที่ผู้ให้บริการเครือข่าย 2 รายใหญ่เข้ามาดำเนินธุรกิจในเมียนมาเพิ่มเติม จากเดิมที่มีเพียง 1 ราย ยิ่งทำให้การแข่งขันดุเดือด ผู้บริโภคต่างก็แห่ไปจดทะเบียนในระบบ pre-paid กันอย่างมหาศาล 

เฟซบุ๊คและแชทแพลตฟอร์มเป็นหัวใจหลักของการใช้อินเทอร์เน็ต สำหรับหลายๆคนเฟซบุ๊คคืออินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ แม้ว่า Connectivity ในเมียนมาตอนนี้ยังไม่ลื่นไหลปรู้ดปร้าด แต่พูดได้เลยว่า “มือถือ”คือวิถีเมียนมาแห่งอนาคตแน่นอน

7.หากจะดึงดูดใจผู้บริโภคชาวเมียนมาในยุคแบรนด์ใหม่เริ่มเฟื่องฟู ควรเน้นขายคุณภาพชีวิตมากกว่าสเปคสินค้า 

    ด้วยความที่ยังไม่มีแบรนด์สินค้าให้เลือกมากนัก คนเมียนมาจึงเต็มใจเปิดรับที่จะลองอะไรใหม่ๆ แต่การมีตัวเลือกมากมายอาจยากที่จะจับใจผู้บริโภคได้ ดังนั้นอาจใช้การสื่อสารผ่านบรรจุภัณฑ์และช่องทางสื่ออื่นๆ มาช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้ว่าสินค้าและบริการนั้นตอบสนองความต้องการพวกเขาอย่างไร 

นอกจากนี้ผู้บริโภคเมียนมายังอ่อนไหวในเรื่อง “ราคา”และยังต้องการแรงจูงใจ หากต้องจ่ายในราคาพรีเมียม แทนที่จะขายคุณสมบัติของสินค้า เราควรจะเน้นย้ำในเรื่องของผลกระทบของการใช้สินค้ามากกว่า ว่าทำให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างไร ให้เขาเห็นประโยชน์ที่จะได้ ซึ่งจะดึงความสนใจได้ดี

8.ประเทศที่อยู่ตรงกลางระหว่างรากฐานวัฒนธรรมเก่าแและการพัฒนาในยุคใหม่ แบรนด์ต่างๆ จึงควรเน้นไปที่การก้าวไปข้างหน้าแต่ไม่ทิ้งรากเหง้าดั้งเดิม 

    หัวใจคือการสื่อคุณค่าของแบรนด์ให้ได้ ในตลาดที่แบรนด์ยังไม่มีจุดยืนในใจผู้บริโภค เรื่องนี้นับเรื่องที่มีความสำคัญมาก แน่นอนว่าผู้บริโภคต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ แต่อย่างๆน้อยก็ควรเริ่มจากการมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์และความรู้สึกร่วมกับแบรนด์ก่อน 

ธรรมชาติของคนเมียนมาจะให้ความเคารพผู้อาวุโสและให้ความสำคัญกับครอบครัวมาก พวกเขามีความถ่อมตนในการใช้ชีวิตหรือการจับจ่ายใช้สอย หากจำเป็นจะต้องใช้การนำเสนอที่แหกกฎ เป็นปัจเจก หรือแม้แต่อารมณ์ขัน ก็ต้องเลือกนำเสนออย่างระมัดระวัง 

จากผลการวิเคราะห์ของ BrandZ™ ชี้ให้เห็นว่าแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแรงที่สุดในเมียนมานั้นนำเสนอเรื่องราวของการเป็นอุดมคติ ความฝัน และการผจญภัย แต่ที่สำคัญคือ อย่าให้มากเกินจนกลบตัวสินค้า เพราะอย่างไรเสียตัวสินค้าก็ควรจะเป็นดาวดวงเด่น

9.เป็นตลาดที่ให้คุณค่ากับความแตกต่างหลากหลาย 

    หากมองจากภายนอก เมียนมาอาจดูเป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีความแตกต่างของผู้คนเท่าไร เรารับรู้ว่าประชากรเมียนมาในเขตเมืองเป็นพุทธศาสนิกชนและส่วนใหญ่เป็นชนชาติบะหม่า(Bamar) แต่แท้จริงแล้วชนชาติเมียนมาถูกแบ่งออกตามแหล่งที่อยู่ ภูมิอากาศ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อรสนิยมและความต้องการใช้สินค้าอุปโภคทั้งสิ้น 

เมียนมาตอนกลางและตอนล่างถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของชาวบะหม่าเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่แนวภูเขาและโซนชายฝั่งทะเลที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันกว่า 135 ชาติพันธุ์ ต่างมีวัฒนธรรมและความคิดที่เป็นเอกเทศ ผู้บริโภคที่อยู่ตามขอบชายแดนมีโอกาสได้เจอกับสินค้าจากต่างชาติมากกว่า จึงเป็นผลให้พวกเขาตอบรับกับสินค้าและบริการไอเดียแปลกใหม่ได้ดีกว่าคนในย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์

10.ชาวเมียนมาไม่ได้หลงแต่แบรนด์ต่างชาติ แต่มักจะชอบแบรนด์ที่โดดเด่น มีบุคคลิกเฉพาะตัวและมีความแตกต่าง 

    แบรนด์สากลที่ต้องการจะบุกตลาดเมียนมาไม่ควรลืมว่าประเทศเมียนมานั้นถูกตัดขาดจากโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน พวกเขาไม่ได้มีกระแสความตื่นตัวกับแบรนด์ต่างชาติอย่างที่เราเห็นได้ในประเทศอื่นๆในอาเชียนหรือในตลาดยุโรปตะวันออก เมื่อพวกเขาเปิดประเทศ การเป็นแบรนด์ต่างชาติไม่ได้เป็นตัวการันตีถึงความสำเร็จ 

ชาวเมียนมาชื่นชมแบรนด์ที่เป็นตัวแทนของความภาคภูมิใจ ความโดดเด่น ความเป็นแบรนด์เนมสากลไม่ได้หมายถึงความเป็นพรีเมียมเสมอไปสำหรับชนชาวเมียนมา แต่สามารถสื่อถึงความเป็นสินค้าคุณภาพดีหรือมีมาตราฐานความปลอดภัย แต่ไม่ได้เป็นตัวดึงดูดใจผู้บริโภคในทุกกรณี จะเห็นได้ว่าโอกาสทางธุรกิจสำหรับการสร้างแบรนด์ในเมียนมานั้นเอื้อให้กับแบรนด์ท้องถิ่นเท่าๆกับแบรนด์สากลขึ้นอยู่กับการนำเสนอแบรนด์นั้นๆในใจผู้บริโภค

แบรนด์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคเมียนมาและสร้างความภักดีได้ก่อนจะได้เปรียบ เนื่องจากผู้บริโภคยังมีตัวเลือกไม่มากและยังไม่ตัดสินใจเลือกแบรนด์ เวลานี้จึงเป็นเวลาที่ดีที่แบรนด์ควรจะเขาไปสร้างความประทับใจ แบรนด์อย่าง KFC Coca-Cola และ Ford นั้นเข้าไปจับจองพื้นที่ในใจของผู้บริโภคเมียนมาได้แล้ว

            แบรนด์ของคุณอาจจะเป็นแบรนด์ถัดไปที่ครองใจผู้บริโภคเมียนมาก็เป็นได้ ขอให้โชคดีค่ะ