เมื่อ "คอมพิวเตอร์" จะมาแทนที่พนักงานออฟฟิศ

เมื่อ "คอมพิวเตอร์" จะมาแทนที่พนักงานออฟฟิศ

ท่านผู้อ่านที่ติดตามข่าวคราวกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเรา คงจะได้ยินคำว่า “อุตสาหกรรม 4.0” มากันบ้าง

“อุตสาหกรรม 4.0” กำลังจะมาเป็นอีกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายไปที่การขยับฐานะของประเทศให้หลุดพ้นออกจากสภาวะ “กับดักรายได้ปานกลาง”

อุตสาหกรรม 4.0 เป็น ศัพท์ที่ใช้แทนคำว่า อุตสาหกรรมในยุคที่ 4 เช่นเดียวกับ ศัพท์คำว่า “4G” ที่นำมาใช้กับการพัฒนายุคต่างๆ ของเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์ไร้สาย หรือที่มีศัพท์เรียกกันว่า “มือถือ”

ว่ากันว่า โทรศัพท์มือถือยุค 1G (G มาจากคำว่า Generation ซึ่งแปลว่า รุ่น หรือ ยุค) เป็นการพัฒนาโทรศัพท์ไร้สายในยุคแรก โดยมือถือในยุค 1G นี้จะเน้นเฉพาะไปที่เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเสียงพูด เป็นการจำลองแบบการใช้โทรศัพท์แบบมีสาย

แต่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น คือ ไม่ต้องอาศัยสายโทรศัพท์เพื่อเป็นสื่อสัญญาณเสียง

โทรศัพท์ไร้สายรุ่น 2G จะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ โทรศัพท์มือถือที่เคยใช้คุยกันได้เท่านั้น สามารถใช้สื่อสารด้วยการส่งข้อความหรือส่งข้อมูลระหว่างกันได้ เช่น การส่งข้อความสั้น หรือการส่งไฟล์ข้อมูลต่างๆ และสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้

เทคโนโลยียุค 3G เป็นการพัฒนาให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถมากยิ่งขึ้นไปอีก เช่น สามารถรับส่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตก็จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลที่สูงขึ้น

ส่วนยุค 4G ก็คงจะเป็นเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่วนจะสูงขึ้นแค่ไหนก็อาจต้องให้ผู้บริโภคที่หันมาใช้เทคโนโลยี 4G เป็นผู้ตอบว่า 4G จะเหนือกว่า 3G ที่ใช้กันมาอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนเกิดความเคยชินแล้วมากน้อยเพียงใด และเหตุใดธุรกิจมือถือจึงต้องแย่งกันประมูลคลื่น 4G แบบสู้ราคาหมดหน้าตัก

ประมูลได้แล้ว ไม่มีเงินจ่าย!

ส่วนการเปลี่ยนแปลงของระบบอุตสาหกรรม จากสมัยแรกเริ่ม หรือยุค 1.0 ซึ่งใช้แรงงานมนุษย์ สัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานลมและพลังงานน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น อุตสาหกรรม 2.0 ซึ่งเริ่มใช้เครื่องจักรกลมาแทนแรงงานมนุษย์หรือสัตว์ เช่น เครื่องจักรไอน้ำ หรือ เครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้ามาเป็นแหล่งให้กำลังงาน

อุตสาหกรรม 3.0 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ ให้มีความแม่นยำเที่ยงตรงมากขึ้น สามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานเฉพาะ และให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานบริการแทนมนุษย์ได้ในบางเรื่อง เช่น ตู้เบิกถอนเงินอัตโนมัติ ไม้กระดกกั้นรถเข้าที่จอดรถ ตู้ขายตั๋วต่างๆ แต่ก็ยังต้องมีมนุษย์เข้ามาเป็นผู้ควบคุมสั่งการการทำงาน

อุตสาหกรรม 4.0 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างฉลาดมากขึ้นจาก “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ Artificial Intelligence (เรียกย่อๆ ว่า AI)

อาจจะสามารถจดจำผู้คนได้ว่าใครเป็นใคร สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้ เช่น บอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ หรือเตือนเมื่อมีการกระทำผิดกฏระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ได้อย่างเคร่งครัด

ปัญหาในเชิงสังคมที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นตั้งแต่ยุค อุตสาหกรรม 3.0 ที่มนุษย์เริ่มจะเกิดความรู้สึกว่า คอมพิวเตอร์จะเข้ามาแย่งอาชีพและการทำงานของมุษย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานที่ต้องใช้แรงงานหรืองานที่ต้องใช้ทักษะพิเศษบางประเภท

แต่ก็ยังคงอยู่ในวงจำกัดของอุตสาหกรรมเชิงการผลิต เท่านั้น ในขณะที่ อุตสาหกรรม 4.0 จะมีท่าทีว่า คอมพิวเตอร์จะฉลาดมากขึ้น จนอาจเข้ามาทำงานที่ต้องมีการตัดสินใจเฉพาะหน้า ว่าในสถานการณ์ต่างๆ ควรจะตัดสินใจอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบกับธุรกิจหรือการให้บริการ

และเป็นตัดสินใจที่จะถูกต้องเสมอ เมื่อเทียบกับการปฏิบัติงานหรือให้บริการของมนุษย์ที่มักจะเกิด “ความผิดพลาด” ในแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Human Error หรือความผิดพลาดที่เกิดจาก(การเป็น)มนุษย์อยู่เสมอ

และมักจะนำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อลบล้างความผิดได้ในหลายๆ กรณี!!

มีบทความในนิตยสารวิชาการ Harvard Business Review ฉบับเดือนมิถุนายน 2015 ได้นำประเด็นเรื่องของความเป็นไปได้ในอนาคตที่คอมพิวเตอร์จะเข้ามาทำงานแทนพนักงานออฟฟิศ ในระดับต่างๆ สูงขึ้นไปจนถึงระดับผู้บริหารที่ต้องใช้การตัดสินใจ

ซึ่งเป็นงานในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ฉลาดพอที่จะเข้ามาทำแทนมนุษย์ได้

แต่ในอนาคตอันใกล้ คอมพิวเตอร์จะมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นในระดับที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจบริหารงานแทนมนุษย์ได้แน่ๆ

รถยนต์ไร้คนขับ ก็กำลังจะออกมาวิ่งบนท้องถนนให้เห็นได้ในไม่ช้านี้

ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น มนุษย์จะหางานหาอาชีพอะไรมาทำ??

บทความดังกล่าว ให้ความเห็นว่า ในยุคที่คอมพิวเตอร์มีความ “ฉลาด” ได้เท่าหรือเหนือกว่ามนุษย์โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะพัฒนาตัวเองหรือคนรุ่นหลังอย่างไรเพื่อมารองรับการทำอาชีพในอนาคต ได้ใน 5 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่

    การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผ่านมาในอดีต มักจะสร้างให้เกิดผลกระทบต่อสังคมเสมอ โดยในยุคต้นๆ มักจะเป็นผลกระทบเขิงบวกแก่ระบบเศรษฐกิจหรือการดำรงชีวิตของมนุษย์

    แต่ในอนาคต อาจจะเกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมขึ้นมาได้ หากมนุษย์จะพัฒนาเทคโนโลยีหรือระบบเศรษฐกิจไปโดยไม่มองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมในวงกว้าง