Startup ธุรกิจท้าทายแห่งยุค Digital Economy

Startup ธุรกิจท้าทายแห่งยุค Digital Economy

ผมได้นำเสนอเรื่อง Digital Economy ซึ่งเป็น Megatrend ของโลกผ่านคอลัมน์นี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558

Digital Economy เป็นระบบการค้าผ่านระบบ On-line มูลค่ามหาศาล ในกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ซึ่งมีจำนวนถึง 1/4 ของประชากร ที่เติบโตมาพร้อมกับระบบ Digital Economy และนับวันจะเติบโตเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับ Digital Economy ผมจึงขอนำเสนอเรื่องของ Startup ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา

Startup หมายถึง บริษัทเปิดใหม่ ที่วางแผนมาเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมีการหาเงินทุนด้วยการขอเงินสนับสนุนจากนักลงทุน ด้วยการนำเสนอ Idea เพื่อซื้อใจนักลงทุนให้เห็นศักยภาพและร่วมลงทุนด้วย Startup จึงแตกต่างจาก SME ที่ต้องอาศัยเงินทุนของตัวเอง หรือต้องขอเงินทุนโดยการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์

Startup เริ่มจากคนเพียงไม่กี่คน ใช้เงินทุนไม่สูง หากมีการวางแผนธุรกิจที่ดี มีไอเดียที่น่าสนใจ สามารถสร้างผลงานให้คนใช้ได้ทั่วโลก ก็จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สินค้าที่ผลิตออกมาก็คือ Software หรือ Application ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ธุรกิจ Startup จะนิยมหาเงินทุนด้วยการขอเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุน โดยนักลงทุนจะได้สิทธิ์ในการแบ่งปันรายได้ หรืออาจเป็นหุ้นส่วนของบริษัทก็ได้ นักลงทุนที่นิยมในธุรกิจ Startup คือ นักลงทุนที่เรียกว่า Angle Investor ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ยอมเสี่ยงในการลงทุนตั้งแต่ช่วงที่ Startup เริ่มต้น โดยจะพิจารณาจาตั้งแต่ ไอเดีย นวัตกรรม โอกาสทางธุรกิจ ความคุ้มในการลงทุน

Startup ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทในวงการไอที ในสหรัฐอเมริกาแหล่งรวมตัวของบริษัทไอทีชั้นนำที่เรียกว่า Silicon Valley จะมีธุรกิจ Startup เปิดบริษัทเป็นจำนวนมาก และมีนักลงทุนรวมตัวกันอยู่ บริษัทไอทีชั้นนำของโลกล้วนแต่ผ่านการเป็น Startup มาก่อน เช่น Google, Zynga คนดังอย่าง Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ก็เริ่มต้นเป็น Startup ก่อนจะสร้างรายได้มหาศาลจนทำให้บริษัทของเขาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในปัจจุบัน

ปัจจุบันประเทศในกลุ่ม AEC เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเชีย รวมถึงเวียดนาม ล้วนแต่มี Startup เกิดขึ้นมากมาย มีการจัดงานที่สนับสนุนให้ Startup ได้พบกับนักลงทุน อย่างเช่น งาน Echelon ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2555 ที่เปิดโอกาสให้ Startup จากประเทศต่าง ๆ นำเสนอผลงาน เพื่อชิงรางวัล มีโอกาสได้พบนักลงทุน ในงานนี้ Starup จากประเทศไทย Builk.com ซึ่งเป็นผู้ใบริการ Software สำหรับธุรกิจก่อสร้าง ได้รับรางวัลชนะเลิศ

รูปแบบธุรกิจของ Builk.com คือ เปิดตัวให้ลูกค้าใช้งาน Software ฟรี โดยมีรายได้หลักจากการโฆษณาสินค้าและบริการจากบริษัทในวงการก่อสร้าง

Startup จากไทยอีกรายคือ บริษัท Proteus Agility ได้เสนอ Software ชื่อว่า Eidos ที่ช่วยให้ทีมงานพัฒนา Software ของบริษัทต่าง ๆ ประหยัดเวลา ใช้งานได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในเอเชียยังมีอีกหลายประเทศที่จัดงาน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย เกาหลี ชึ่งเป็นงานที่น่าสนใจและอยากให้ Startup จากประเทศไทยเข้าร่วมงานเพราะเป็นโอกาสที่สำคัญในการเสนอไอเดีย และการสนับสนุนจากนักลงทุน เพื่อเพิ่มจำนวน Startup ของไทยให้มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา Startup ของไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์

ผมเชื่อว่าปัจจุบันบุคลากรของประเทศไทยมีความพร้อมในการวางแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อก้าวสู่ ธุรกิจ Startup หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้เกี่ยวข้อง นอกจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ควรมีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง

Startup ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องสำคัญในยุค Digital Economy ที่จะสร้างรายได้มหาศาลให้กับผู้ที่ประสบความสำเร็จ ผมมั่นใจว่า จะมี Mark Zuckerberg สัญชาติไทยเกิดขึ้นอีกไม่นาน ปัจจุบันภาคเอกชนที่มีโครงการสนับสนุน Startup ในประเทศไทยได้แก่ AIS และ DTAC ที่จัดให้มีการประกวดไอเดียสร้าง Mobile Application เพื่อชิงรางวัลและส่งเข้าประกวดในเวทีระดับโลก

สนใจหารายละเอียดผ่านลิงค์ AIS The StartUP และ DTAC Wizard of Apps ได้เลยครับ