บุกรุกหาดเลพัง

บุกรุกหาดเลพัง

กลุ่มอนุรักษ์หาดเลพัง ดนัย นาดี ชาวบ้าน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต อาศัยชายหาดเลพังเป็นที่ทำกิจกรรมของชาวบ้าน

มาตั้งแต่บรรพบุรุษ วันนี้พวกเขาทนเห็นการบุกรุกพื้นที่สาธารณะประโยชน์ไม่ได้อีกต่อไป ดนัย และชาวบ้านอีกหลายคนเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ .ต.ท.พงษ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้ตรวจสอบโรงแรมหรู ร้านอาหาร ยึดชายหาดเลพัง ที่งอกจากการทับถมของตะกอนทะเล ไปเป็นสมบัติส่วนตัว

>>> นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล มาแอน สำราญ เริ่มจัดระเบียบพื้นที่ชายหาดในเขตตำบลเชิงทะเล จนสามารถคืนหาดทรายชายหาดสุรินทร์ ให้กับนักท่องเที่ยว แต่ที่หาดเลพัง ต้องอาศัยดีเอสไอ เข้ามาช่วย พร้อมยอมรับว่าที่ผ่านมาเหมือนสู้ตัวคนเดียว ขณะที่ผู้บุกรุกที่หลวง เป็นโรงแรมขนาดใหญ่ และผู้มีอิทธิพล

>>> รองอธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.พงษ์อินทร์ ได้รับข้อมูลการบุกรุกหาดเลพัง จากตัวแทนชาวบ้าน เบื้องต้นพบว่า ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่บนเกาะภูเก็ต แม้แต่หน่วยพิทักษ์ป่าลายัน ก็มีผู้นำสค.บิน มาออกโฉนดในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ

>>> พื้นที่บุกรุกหาดเลพัง ตลอดแนวชายหาดความยาว 2 กิโลเมตร มีกำแพงรั้วกั้นตลอด บางแปลงผู้ครองนำป้าย ‘ที่ดินแปลงนี้มีโฉนดห้ามบุกรุก’มาปิดไว้ ทำให้หน่วยงานรัฐเข้าใจว่า ได้เอกสารมาถูกต้อง บางแปลงมีคดีพิพาทอยู่ในศาล ระหว่างโรงแรมหรูกับกรมที่ดิน

>>> จากการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2510 ดีเอสไอ พบการเปลี่ยนแปลงสภาพของชายหาดเลพัง ที่ค่อยๆ งอกออกไปตามการทับถมของตะกอนทะเล และพบว่าเริ่มมีผู้บุกรุกมาตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งดีเอสไอ เตรียมจะรับเป็นคดีพิเศษ เพื่อเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ เพราะราคาที่ดิน สูงถึง 14,000 ล้านบาท ผลประโยชน์มหาศาล ยั่วยวนให้ กระทำความผิด โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย

>>> ส่วนคดีค้ามนุษย์ สุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พ.ต.ท.ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ ต่อต้านการค้ามนุษย์ ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญ คดีค้ามนุษย์ในเรือประมง

>>> ด้านกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติกล่าวหา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวก ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว และในมติดังกล่าวได้มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานว่าในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการซื้อขายมันสำปะหลังในรูปแบบสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ พบมีผู้กระทำความผิด 31 ราย บางรายมีชื่อซ้ำกับคดี ขายข้าวจีทูจี ปลอม ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลฎีกานักการเมือง