แบรนด์ คืออะไร

แบรนด์ คืออะไร

“แบรนด์ คืออะไร” ... “นั่นสิครับ มันคืออะไร”

เคยได้ยินต่างๆ นานา ในหลายๆ สื่อทั้งทางทีวี อินเทอร์เน็ต โลกออนไลน์ ได้ยินมาตลอด แต่ความจริงแล้ว คำว่าแบรนด์ไม่มีข้อกำหนดตายตัวครับ


ในทางทฤษฎี แบรนด์ คือ สิ่งที่จะสามารถ ออกแบบ หรือ สร้าง ออกมาในรูปแบบสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ สิ่งนั้นๆ บ้างเป็นชื่อ บ้างเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตน ของสิ่งสิ่งนั้น เปรียบเสมือนการสื่อสารความเป็นตัวตนของสิ่งเหล่านั้นมันคือ สิ่งที่เรียกว่าตัวตนของสิ่งสิ่งนั้นครับ


โดยจะยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ของบริษัท Apple มันก็คือ คำว่า Apple และก็รูปสัญลักษณ์ ที่เป็นแอ๊ปเปิ้ลที่โดนกัด โดยทั้งรูปสัญลักษณ์และความหมายของคำว่า Apple นั้น จะบ่งบอกถึงตัวตนของบริษัท และความหมายที่จะสื่อออกมาผ่านทางการสื่อสารการตลาดและต่างๆ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตออกมา ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีโดยแอ๊ปเปิ้ลได้มีการวางโครงสร้างของแบรนด์และจุดประสงค์ของบริษัทได้ชัดเจน


สัญลักษณ์ที่สื่อสารการตลาดออกมา ที่เป็นรูป Apple โดนกัดความหมายก็คือจุดเริ่มต้นกำเนิดของมนุษย์ในยุดเริ่มต้น ที่เอวา หรือ อีฟ เป็นคนกัด Apple ทำให้ต้องโดนไล่ออกจากสวนเอเด็นมาสู่โลก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของมนุษย์โลกเป็นความเชื่อในหลักศาสนาคริสต์ จึงเอามาประยุกต์กับผลิตภัณฑ์ Apple ที่เป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น ipod iphone รวมไปถึง แม็คอินทอส


จากที่ยกตัวอย่างมาจะเห็นได้ว่า แบรนด์ ที่ Apple สร้างขึ้นมานั้นสามารถนำวิสัยทัศน์ และ จุดมุ่งหมายของบริษัท มาประยุกต์ในการสื่อสารการตลาดและพัฒนาเทคโนโลยี จึงออกมาเป็นบริษัท Apple ที่เป็นเบอร์หนึ่งในเรื่องของเทคโนโลยีในปัจจุบันด้วยเหตุนี้เอง คำว่าแบรนด์ คือ ชื่อเรียก ตัวตนของสิ่งนั้น เพื่อจะนำเสนอออกไปให้คนอื่นรู้จัก จะมีลักษณะ ความรู้สึก นิสัย แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ว่าเรา อยากจะให้ผู้ที่รับ มองไปในรูปแบบใดๆ


ทำไมต้อง สร้างแบรนด์


เคยมีคนมาถามว่า ไม่ต้องมีแบรนด์ก็ได้ มีแค่โลโก้ แค่ชื่อ ก็น่าจะทำการตลาดหรืออย่างอื่นได้แล้ว


ใช่ครับ แต่ก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนามาเป็นแบรนด์อยู่ดีเนื่องจาก เราเองไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ยังต้องมีการติดต่อการค้า ติดต่อธุรกิจอีกมากมายลูกค้าจะมั่นใจได้อย่างไรถ้าเราเองไม่มีต้นกำเนิดหรือเรื่องราวอะไรมา


การทำแบรนด์จึงต้องมีการวางแผนกำหนดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น วิสัยทัศน์ เป้าหมายองค์กร หรือ ลักษณะนิสัย ให้ชัดเจน เพื่อสื่อสารการตลาด ได้อย่างเหมาะสมมันก็เหมือนกับเด็ก นักเรียนคนหนึ่ง นั่งเรียนอยู่กับเพื่อนๆ ในห้องเรียนเพื่อนร่วมชั้นประมาณ 50 คน จะรู้ได้ไงว่าคุณครูจำเราได้ จะรู้ได้ไง ว่าเพื่อนๆ รู้จักเรา


ถ้าเราเองยังไม่รู้จักตัวเองเลยว่ามาจากไหนนิสัยเป็นอย่างไร เข้ากับเพื่อนๆ ได้หรือไม่ แต่แปลกนะ ทำไม เพื่อนๆ ที่เกเร เพื่อนๆ ที่เรียนเก่ง เพื่อนๆ ที่เล่นกีฬาเก่ง เพื่อนที่ชอบช่วยเหลือคนอื่นทำไมอาจารย์หรือเพื่อนๆ ถึงให้ความสำคัญกับคนพวกนี้ ทุกคนในห้องรู้จัก จดจำคนเหล่านี้ได้การสร้างลักษณะพิเศษหรือนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ จะทำให้ตัวเองเป็นที่จดจำเช่นเดียวกับแบรนด์ จะทำยังไงให้ตัวเองเป็นที่รู้จักในแวดวงหรือลูกค้ารู้จักจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าลักษณะนิสัยของแบรนด์ของตัวเอง เป็นอย่างไร จะทำยังไงให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าทำอย่างไรให้เขาจดจำ และกับมาซื้อหรือใช้บริการตลอดไป


เพราะฉะนั้น แบรนด์จึงไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ โลโก้ แต่เป็นตัวตนของสิ่งสิ่งนั้นที่แสดงออกมาให้คนอื่นเห็นได้อย่างชัดเจนเพื่อสื่อให้ถึงเป้าหมายของแบรนด์นั้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ จึงจะเพิ่มมูลค่าของสินค้า หรือ บริการต่างๆ ให้ดีเยี่ยม


แบรนด์ ในมุมมองของเรา และ มุมมองของลูกค้า


บางทีแบรนด์ของเราก็ดีนะครับ ประโยชน์ และคุณภาพ เยี่ยมยอด แต่เมื่อเรามามองย้อนกลับไปในมุมของลูกค้าอีกที แบรนด์เราจะอยู่ในระดับความพึงพอใจของเขามากน้อยขนาดไหน


นี้เป็นสิ่งที่เราเองสามารถประมาณในธุรกิจของเราได้เลยว่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องของกำไรขาดทุนมากน้อยขนาดไหนยกตัวอย่างเช่น ทำไมผลิตสินค้าออกมา ทั้งๆ ที่เราก็รู้ว่าสินค้าชนิดนี้น่าจะขายได้อีกนาน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะปัญหาไม่ได้มีด้านเดียว อาจจะมีรอบด้านด้วยซ้ำ


วิธีแก้ไขปัญหาก่อนจะดำเนินธุรกิจสิ่งแรกที่เราควรจะต้องทำให้ละเอียดที่สุด และ มีประสิทธิภาพสูงสุดคืองานวิจัยในเรื่องของการตลาดที่เราจะไปลงทุน นั้นว่ามีความเสี่ยงหรืออุปสรรคต่อการลงทุนรึปล่าว เพื่อที่ธุรกิจจะได้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด


สร้างเป้าหมายของแบรนด์ที่เกี่ยวกับธุรกิจ


คือการที่เราเริ่มใช้เป้าหมาย จุดประสงค์ พันธกิจ ของบริษัท มาประยุกต์กับตราสัญลักษณ์ของแบรนด์เพื่อให้เกิดลักษณะนิสัย และ ภาพลักษณ์ ของแบรนด์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า เพราะการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้านั้น เปรียบเสมือน การสร้างอุปนิสัยของตัวเองเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ และจะเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในเรื่องของศาสตร์ที่เราเคารพด้วย อย่างเช่น การนำเรื่องของฮวงจุ้ยเข้ามามีบทบาทในการสร้างแบรนด์จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราเองได้ อีกทั้งสามารถนำข้อมูลที่เราเตรียมไว้ตั้งแต่ต้นมาประยุกต์ให้กับตราสินค้าเพื่อความต้องการของผู้บริโภคก็จะดีเป็นอย่างยิ่งครับ


การออกแบบกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Activities Design)


เพื่อที่ธุรกิจจะเดินหน้าและพัฒนาต่อไป การออกแบบกิจกรรมทางการตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ตราสินค้า เข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภคโดยตรง ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปแบบของกิจกรรมทางการตลาดของโปรดักแต่ละธุรกิจนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป และเพื่อให้เป็นที่จดจำและเกิดแบรนด์ขึ้นมา จึงต้องมีการใช้กลยุทธ์การวางแผนการตลาดอีกหลากหลายวิธี ยกตัวอย่าง เช่น


ชาเขียว มีการแจกรางวัลต่อเนื่อง เพราะใช้การตลาดเกี่ยวกับเรื่องของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบเสี่ยงดวง เพื่อการลุ้นรางวัล เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบของกิจกรรมทางการตลาดที่เราต้องพัฒนาซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องต่อไปนี้


การออกแบบกิจกรรมการสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication Design)
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดเลยก็ว่าได้ เพราะการสื่อสารการตลาดนั้น จะทำให้ลูกค้ารู้ว่า เราชื่ออะไร กำลังทำอะไร มีอะไรอยู่ และลูกค้าจะได้อะไรจากเราไปบ้าง คือสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคต้องการ ทั้งนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับสื่อ ที่เราเลือกใช้ในการสื่อสารทางการตลาดด้วยว่าจะเป็นไปในแนวทางและรูปแบบใด งบประมาณในการลงทุนเท่าไหร่ สิ่งที่ให้ลูกค้าไปกับสิ่งที่ได้เรากลับคืนมาคุ้มค่ารึเปล่า การสื่อสารการตลาดนี้จะช่วยให้ลูกค้าเห็นลักษณะ อุปนิสัยที่แท้จริงของแบรนด์เราว่ามีลักษณะ แบบใดบ้าง ยกตัวอย่างเช่น


ถ้าเรานึกถึงไก่ทอด อร่อยๆ คงจะหนี้ไม่พ้น KFC หรือ รถยนต์ที่หรู ก็คงหนี้ไม่พ้น BENZ แน่นอน ทั้งๆ ที่ แบรนด์ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้มีคำว่าไก่ หรือ คำว่ารถหรู ด้วยซ้ำ และรวมทั้งภาพลักษณ์ และการสื่อสารที่ออกไป ทำให้เราต้องนึกถึงแบรนด์เหล่านี้ครับ


สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการพัฒนาแบรนด์ของเราให้มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ และก้าวหน้าอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางการตลาดอีกด้วยครับ และสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดก็คือเราได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหรือยัง บ้างครั้งการสร้างแบรนด์หรือการพัฒนาแบรนด์อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว คุณภาพของสินค้าและบริการเท่านั้น ที่เป็นหัวใจหลักในการตัดสินว่าคุณจะอยู่หรือไปในธุรกิจนั้นครับ